วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560
การวางแผนกลยุทธ์
ภารกิจ (Mission)
Ø เพื่อให้บุคคลสาธารณะได้รู้จักเมืองหนองคายมากยิ่งขึ้น
Ø บอกข่าวสารบอกเมืองหนองคาย
โครงสร้างของบริษัท (Company
Profile)
Ø เพจ
ชื่อ ฮักเมืองหนองคาย
Ø สร้างขึ้น
เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2560
Ø →ผู้ดูแลเพจ
หาข้อมูล→ โพสต์ข้อมูล →เผยแผ่ข้อมูล → ผลตอบรับ → เช็คตามยอดกดถูกใจ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
Ø Strength
จุดแข็ง : ให้ข้อมูล และคำแนะนำ ข่าวสารบ้านเมืองของเมืองหนองคาย
ความเป็นอยู่
Ø Weakness
จุดอ่อน : ผู้ดูแลเพจไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้นจริงๆ
ถามไถ่ข้อมูลจากเพื่อนญาติพี่น้องที่อยู่ที่นั้น
การวิเคราะห์กลยุทธ์และทางเลือกของกลยุทธ์
Ø Strength
จุดแข็ง : ใช้รูปภาพที่น่าสนใจและปัจจุบันให้มากที่สุด
และตอบโจทย์ของผู้ที่เข้ามาดูเพจ
Ø Weakness
จุดอ่อน : การโพสต์ข้อมูลข่าวสารไม่ได้โพสต์ประจำ
ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักและน่าติดตาม
Ø Opportunity
โอกาส : กลุ่มเป้าหมายขยายตัวเพิ่มขึ้น เด็กและผู้ใหญ่สามารถเข้าถึงได้
มีการเพิ่มช่องทางให้การเข้าถึงเราได้มายิ่งขึ้นผ่าน
blogger และ twitter อีกด้วย
แนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น
ทันสมัย
Ø Threats
อุปสรรค : มีการแข่งขันการทำเพจมากยิ่งขึ้น
มีคู่แข่งเป็นจำนวนมาก
เพจยังไม่เป็นที่รู้จัก ยังไม่มีความโดดเด่นมาก
ยังไม่สามรถดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้มากนัก
วัตถุประสงค์
Ø การสร้างเว็บเพจเพื่อเป็นการกระจายข้อมูล
Ø กระจายข้อมูลข่าวสารขององค์กรได้ทุกเวลา
ผ่านการสร้างเว็บเพจ
Ø สามารถทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี
Ø ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาสามารถสร้างประโยชน์ดี
ๆ
แผน (Plans)
Ø ต้องมีความมุ่งมันและตั้งใจในการทำเพจ
Ø มีความเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง
ตรงเวลาไม่ห่างหายไปจากเพจ
Ø แม้คุณจะไม่ว่างหรือจะหยุดยาว
แต่เพจจะยังคงอัพเดทและทักทายเสมอ
Ø เพิ่มความน่าสนใจให้กับเพจด้วย
Ø การเลือกเนื้อหาที่จะโพสต์ในเพจให้ไม่ขัดต่อศีลธรรม
นโยบาย (Policies)
Ø ก็จะต้องไม่มีเนื้อหาที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนก
ดูหมิ่น หรือ ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในสังคมแต่จะเน้นไปในเชิงอนุรักษ์เมืองหนองคายชักจูงผู้คนให้มาเที่ยวหนองคาย
ว่าหนองคายนั้นมีอะไรดีกว่าที่คุณคิดอีกมากมาย
การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy
implementation)
Ø เราสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
Ø เราสามารถใช้จินตนาการและตรรกะในการเลือกใช้ทางเลือกที่มีอยู่ในสำเร็จได้
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560
เชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ ร่วมกันปลูกดอกดาวเรือง
โดย นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เผยว่า สาเหตุที่เชิญชวน ภาคราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วประเทศ ร่วมปลูกดอกดาวเรือง หรือ ดอกไม้สีเหลือง ก็เพราะเป็นสีวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ จึงได้เชิญชวนประชาชนให้ดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว
โดยวางเป้าหมายว่า ดอกไม้จะต้องบานสะพรั่ง ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ให้นำไปใช้ประดับสถานที่ราชการ สถานที่สำคัญของจังหวัด บริษัท ห้างร้าน และบ้านเรือนประชาชนต่อไป เครดิต : สถานีหนองคาย
เที่ยวงานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก และประเพณีแข่งขันเรือยาว
ขอเชิญเที่ยวงานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก และประเพณีแข่งขันเรือยาว ประจำปี ๒๕๖๐ ตั้งแต่ วันที่ ๔-๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ.บริเวณริมโขงท่าวัดไทย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ชมพิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ การแสดงม่านน้ำสุดอลังการ ชมการรำบวงสวงพญานาคอันงดงามนำโดยดารานักแสดงจากเรื่อง"นาคี"แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ และนางรำกว่า ๒,๐๐๐ คน ชมคอนเสิร์ตจากศิลปีนดัง"มนแคน แกนคูณ" และกิจกรรมมากมายตลอดทั้งงาน อย่าพลาด...ที่ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560
ขอเชิญร่วมงานประเพณีออกพรรษาและเทศกาลบั้งไฟพญานาค
เทศบาลเมืองหนองคาย ขอเชิญร่วมงานประเพณีออกพรรษาและเทศกาลบั้งไฟพญานาค ประจำปี ๒๕๖๐ ในวันที่ ๒-๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ.บริเวณริมโขงเทศบาลเมืองหนองคาย ลานวัฒนธรรม(วัดลำดวน) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ ร่วมพิธีบวงสวงพญานาคและรำบวงสวงพญานาคร่วมกับนักแสดงจากละครเรื่อง"นาคี" น้องโม้นา และ กิ้ก ดนัย จารุจินดา ตัวละครบริวาณเจ้าแม่นาคี พิธีบวงสวงเจ้าแม่สองนางและพระธาตุกลางน้ำ วันที่ ๒-๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ ร่วมตักบาตรเทโว ชมการประกวดปราสาทผึ้ง "ชมการแสดง แสง สี เสียง" สุดยิ่งใหญ่ตระการตา ในชุด"เปิดตำนานบั้งไฟพญานาค" ชมการแสดง ร้อง เล่น เต้น รำ ประกวดบ่าวคนโก้ สาวผู้ดี ชมการไหลเรือไฟจากและลอยกระทงยักษ์ จากชุมชนต่างๆ ถนนอาหารมากกว่าร้อยเมนูให้ท่านได้เลือกทาน อย่าพลาด...เทศกาลออกพรรษาปีนี้ที่หนองคายกันนะค่ะวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560
หนองคายน่าอยู่
หนองคายน่าอยู่
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคาย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคาย คือ พญานาค
ตราประจำจังหวัด คือ รูปก่อไผ่และหนองน้ำ
มีภูเขาหัวน้ำอุ่นอยู่เบื้องหลัง เพราะที่ตั้งเมืองหนองคายนี้เดิมชื่อ บ้านไผ่
มีกอไผ่อยู่ทั่วไปและมีหนองน้ำใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า หนองคาย
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่
ดอกชิงชัน (Dalbergia oliveri)
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่
ชิงชัน (Dalbergia oliveri)
ลักษณะรูปร่างของจังหวัดหนองคาย ลักษณะรูปร่างของจังหวัดหนองคายมีรูปร่างคล้ายกับ
“รูปตัว V” ที่อ้าออกกว้าง
คำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส
สะพานไทย-ลาว
เพลงประจำจังหวัด
อันจังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองคาย อยู่ชายแดน ตามภูมิแผนที่ตั้งริมฝั่งโขง
ภาคอีสานเรืองอร่ามเรืองอร่ามงามจรรโลง เกียรติดังโด่ง เป็นเมืองด่านบานประตู
ชาวหนองคาย หนองคาย พี่น้องผองไทยกาจ ล้วนสามารถแสดงประจักษ์เป็นนักสู้
เคยชิงชัยห้าวหาญต้านศัตรู มิให้จู่โจมบุกรุกแดนไทย อันพี่น้องหนองคายชายก็ชาญ
หญิงสะคราญหมดจดสวยสดใส ทุกคนเอื้ออารีมีนำใจ ถึงอยู่ไกลไมตรีสนิท เป็นมิตรเอย
หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศ
ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า
200 ปีเศษ
พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย)
ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ
ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์
กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา
(บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่
แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง
จังหวัดหนองคายอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร
มีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง
320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด
ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ
สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก
มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก
ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583
ไร่ ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง
ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร
ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 – 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร
และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับกำแพงนครเวียงจันทน์ เขตเมืองหลวงของประเทศลาว
โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากคาด และอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม
อำเภอบ้านดุง อำเภอนายูง และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากชม จังหวัดเลย
ตราประจำจังหวัด
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย
หนองคาย
ชื่ออักษรโรมัน
Nong Khai
ต้นไม้ประจำจังหวัด ชิงชัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด ชิงชัน
การปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองแบ่งออกเป็น
9 อำเภอ 62 ตำบล 705 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอในแผนที่ดังนี้
1.
อำเภอเมืองหนองคาย
2.
อำเภอท่าบ่อ
3.
อำเภอโพนพิสัย
4.
อำเภอศรีเชียงใหม่
5.
อำเภอสังคม
6.
อำเภอสระใคร
7.
อำเภอเฝ้าไร่
8.
อำเภอรัตนวาปี
9.
อำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอเมืองหนองคายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น
16 ตำบล 181 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ในเมือง (Nai Mueang) 17 หมู่บ้าน
2. มีชัย (Mi Chai) 9 หมู่บ้าน
3. โพธิ์ชัย (Pho Chai) 12 หมู่บ้าน
4. กวนวัน (Kuan Wan) 7 หมู่บ้าน
5. เวียงคุก (Wiang Khuk) 8 หมู่บ้าน
6. วัดธาตุ (Wat That) 14 หมู่บ้าน
7. หาดคำ (Hat Kham) 16 หมู่บ้าน
8. หินโงม (Hin Ngom) 8 หมู่บ้าน
9. บ้านเดื่อ (Ban Duea) 16 หมู่บ้าน
10. ค่ายบกหวาน (Khai Bok Wan) 16 หมู่บ้าน
11. โพนสว่าง (Phon Sawang) 10 หมู่บ้าน
12. พระธาตุบังพวน (Phra That Bang Phuan) 14
หมู่บ้าน
13. หนองกอมเกาะ(Nong Kom Ko) 12 หมู่บ้าน
14. ปะโค (Pa Kho) 7 หมู่บ้าน
15. เมืองหมี (Mueang Mi) 7 หมู่บ้าน
16. สีกาย (Si Kai) 8 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองหนองคายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน
16 แห่ง ได้แก่
• เทศบาลเมืองหนองคาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองและตำบลมีชัยทั้งตำบล
รวมทั้งบางส่วนของตำบลโพธิ์ชัย ตำบลกวนวัน ตำบลหาดคำ ตำบลหนองกอมเกาะ
และตำบลเมืองหมี
• เทศบาลตำบลเวียงคุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงคุกทั้งตำบล
• เทศบาลตำบลหนองสองห้อง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลค่ายบกหวาน
• เทศบาลตำบลหาดคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดคำ
(นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ชัย (นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• เทศบาลตำบลกวนวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกวนวัน
(นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• เทศบาลตำบลวัดธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดธาตุทั้งตำบล
• เทศบาลตำบลปะโค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะโคทั้งตำบล
• เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเดื่อทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลหินโงม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินโงมทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง)
• องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนสว่าง (สองห้องเดิม) ทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุบังพวนทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกอมเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ (นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองหมี
(นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• องค์การบริหารส่วนตำบลสีกาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีกายทั้งตำบล
ที่มา :
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ท่องเที่ยวสไตล์บ้านนา
หนองคาย - ท่องเที่ยวสไตล์บ้านนา การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติกำลังได้รับความนิยม หลายคนสนใจหันมาจับธุรกิจด้านนี้ หนึ่งในนั้นเป็นชาวอำเภอศรีเชียง...
เที่ยวงานเทศกาลออกพรรษา
-
การท่องเที่ยวที่จังหวัดหนองคายคึกคัก นักท่องเที่ยว แห่ชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ที่ภูห้วยอีสัน อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย โดยมีทะเลหมอกเกิดขึ...
-
ขอเชิญเที่ยวงานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก และประเพณีแข่งขันเรือยาว ประจำปี ๒๕๖๐ ตั้งแต่ วันที่ ๔-๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ.บริเวณริมโขงท่...
-
หนองคาย - ท่องเที่ยวสไตล์บ้านนา การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติกำลังได้รับความนิยม หลายคนสนใจหันมาจับธุรกิจด้านนี้ หนึ่งในนั้นเป็นชาวอำเภอศรีเชียง...