วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

หนองคายน่าอยู่

หนองคายน่าอยู่



สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคาย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคาย คือ พญานาค
ตราประจำจังหวัด คือ รูปก่อไผ่และหนองน้ำ มีภูเขาหัวน้ำอุ่นอยู่เบื้องหลัง เพราะที่ตั้งเมืองหนองคายนี้เดิมชื่อ บ้านไผ่ มีกอไผ่อยู่ทั่วไปและมีหนองน้ำใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า หนองคาย
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกชิงชัน (Dalbergia oliveri)
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ชิงชัน (Dalbergia oliveri)
ลักษณะรูปร่างของจังหวัดหนองคาย ลักษณะรูปร่างของจังหวัดหนองคายมีรูปร่างคล้ายกับ รูปตัว V” ที่อ้าออกกว้าง
คำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
เพลงประจำจังหวัด
อันจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย อยู่ชายแดน ตามภูมิแผนที่ตั้งริมฝั่งโขง ภาคอีสานเรืองอร่ามเรืองอร่ามงามจรรโลง เกียรติดังโด่ง เป็นเมืองด่านบานประตู ชาวหนองคาย หนองคาย พี่น้องผองไทยกาจ ล้วนสามารถแสดงประจักษ์เป็นนักสู้ เคยชิงชัยห้าวหาญต้านศัตรู มิให้จู่โจมบุกรุกแดนไทย อันพี่น้องหนองคายชายก็ชาญ หญิงสะคราญหมดจดสวยสดใส ทุกคนเอื้ออารีมีนำใจ ถึงอยู่ไกลไมตรีสนิท เป็นมิตรเอย
หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศ
ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา  เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง
จังหวัดหนองคายอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,332  ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 – 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับกำแพงนครเวียงจันทน์ เขตเมืองหลวงของประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากคาด และอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอนายูง และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากชม จังหวัดเลย


ตราประจำจังหวัด
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย                 หนองคาย
ชื่ออักษรโรมัน                Nong Khai
ต้นไม้ประจำจังหวัด       ชิงชัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด     ชิงชัน
การปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 62 ตำบล 705 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอในแผนที่ดังนี้
1.             อำเภอเมืองหนองคาย
2.             อำเภอท่าบ่อ
3.              อำเภอโพนพิสัย
4.             อำเภอศรีเชียงใหม่
5.             อำเภอสังคม
6.             อำเภอสระใคร
7.             อำเภอเฝ้าไร่
8.             อำเภอรัตนวาปี
9.             อำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอเมืองหนองคายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 16 ตำบล 181 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ในเมือง (Nai Mueang) 17 หมู่บ้าน
2. มีชัย (Mi Chai) 9 หมู่บ้าน
3. โพธิ์ชัย (Pho Chai) 12 หมู่บ้าน
4. กวนวัน (Kuan Wan) 7 หมู่บ้าน
5. เวียงคุก (Wiang Khuk) 8 หมู่บ้าน
6. วัดธาตุ (Wat That) 14 หมู่บ้าน
7. หาดคำ (Hat Kham) 16 หมู่บ้าน
8. หินโงม (Hin Ngom) 8 หมู่บ้าน
9. บ้านเดื่อ (Ban Duea) 16 หมู่บ้าน
10. ค่ายบกหวาน (Khai Bok Wan) 16 หมู่บ้าน
11. โพนสว่าง (Phon Sawang) 10 หมู่บ้าน
12. พระธาตุบังพวน (Phra That Bang Phuan) 14 หมู่บ้าน
13. หนองกอมเกาะ(Nong Kom Ko) 12 หมู่บ้าน
14. ปะโค (Pa Kho) 7 หมู่บ้าน
15. เมืองหมี (Mueang Mi) 7 หมู่บ้าน
16. สีกาย (Si Kai) 8 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองหนองคายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 16 แห่ง ได้แก่
• เทศบาลเมืองหนองคาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองและตำบลมีชัยทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลโพธิ์ชัย ตำบลกวนวัน ตำบลหาดคำ ตำบลหนองกอมเกาะ และตำบลเมืองหมี
• เทศบาลตำบลเวียงคุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงคุกทั้งตำบล
• เทศบาลตำบลหนองสองห้อง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลค่ายบกหวาน
• เทศบาลตำบลหาดคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดคำ (นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ชัย (นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• เทศบาลตำบลกวนวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกวนวัน (นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• เทศบาลตำบลวัดธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดธาตุทั้งตำบล
• เทศบาลตำบลปะโค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะโคทั้งตำบล
• เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเดื่อทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลหินโงม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินโงมทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง)
• องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนสว่าง (สองห้องเดิม) ทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุบังพวนทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกอมเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ (นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองหมี (นอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
• องค์การบริหารส่วนตำบลสีกาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีกายทั้งตำบล






ที่มา :
-                    https://ponchami.wordpress.com/home-2/

-                   http://www.folktravel.com/archive/nongkhai.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ท่องเที่ยวสไตล์บ้านนา

หนองคาย - ท่องเที่ยวสไตล์บ้านนา การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติกำลังได้รับความนิยม หลายคนสนใจหันมาจับธุรกิจด้านนี้ หนึ่งในนั้นเป็นชาวอำเภอศรีเชียง...

เที่ยวงานเทศกาลออกพรรษา